คอลลาเจน คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบมากๆในอวัยวะของคนเราบริเวฯเนื้อเยื้อที่เกี่ยวพัน เช่น เส้นเอ็น หลอดเลือด และผิวหนัง สำหรับผิวหนังแล้วคอลลาเจนจะมีปริมาณมากที่สุดถึงร้อยละ 75 เปอร์เซ็น และคอลลาเจนทำหหน้าที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และเพิ่มความแข็งแรงขออวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้ผิวหนังของคนเราดูเต่งตึง กระชับ ผิวแน่น เรียบเนียบ แต่เมื่ออายุ 30 ปี ขึ้นไป คอลลาเจนทั้งหลายก็จะผลิตได้น้อยลง เมื่อคอลลาเจนผลิตน้อยลงส่งผลทำให้ผิวหนังจะเห็นผลอย่างชัดเจนเลยของความเสื่อมสภาพ เช่น ความหย่อนคล้อย เหี่ยวย่น ผิวไม่เต่งตึง ผิวไม่เรียบเนีนยเหมือนก่อน ในร่างกายคนเรามีคอลลาเจนทั้งหมด 6 ประเภท และคอลลาเจนเป็นเส้นใยโปรตีนประเภทหนึ่งของร่างกายคิดเป็นปริมาณ 6 เปอร์เซ็นของน้ำหนักตัว คิดเป็น 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกายคนเรา คอลลาเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างผิว กระดูกอ่อน และหลอดเลือด ปัจจุบันนี้คอลลาเจนมีการค้นพบได้มากถึง 18 ชนิด แต่มีคอลลาเจนที่พบมากที่สุด 5 ชนิด
คอลลาเจนประเภท 1 (type I)
ซึ่งพบมากถึง 90% ของคอลลาเจนทั้งหมดในร่างกาย ช่วยในการสร้างกระดูก ผนังหลอดเลือด เอ็นและเอ็นยึดกล้ามเนื้อ ผิวหนัง กระจกตา และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มีความเหนียวและแข็งแรงมากที่สุด มีความสำคัญในเรื่องของเพิ่มความยืดหยุ่น ป้องกันเนื้อเยื้อไม่ให้ฉีกขาด และช่วยสมานแผลบนผิวหนังได้ดี ด้วยเหตุนี้ผิวของผู้ที่มีคอลลาเจนอย่างเพียงพอจึงสวย เนียน ไร้ริ้วรอยนั่นเอง
คอลลาเจนประเภทที่ 2 (type II)
พบมากในกระดูกอ่อน เช่น ส่วนประกอบของหู จมูก หลอดลม และกระดูกซี่โครง ทำหน้าที่แตกต่างจากคอลลาเจน type I อย่างสิ้นเชิง โดยจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์ของเซลล์ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อการลดอัตราการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ ซึ่ง คอลลาเจนชนิดที่ 2 เป็นคอลลาเจน ที่พบได้ในกระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งทำหน้าที่รองรับน้ำหนักและให้ความแข็งแรงแก่ข้อต่อในขณะที่มีการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วในกระดูกอ่อนจะประกอบด้วยโครงข่ายของเส้นใยคอลลาเจนไทพ์ทู รวมตัวกับกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) และโปรตีโอไกลแคน (Proteoglycan) ได้แก่ แอกกริแคน (Aggrecan) ซึ่งมีไกลโคอะมิโนไกลแคน (Glycoaminoglycans) คือคอนโดอิติน ซัลเฟต (Chondroitin Sulfate) และเคอราแทน ซัลเฟต (Keratan Sulfate) เป็นส่วนประกอบ การศึกษาพบว่าในผู้ที่น้ำหนักตัวมาก และผู้สูงอายุ กระดูกอ่อนชนิด Articular Cartilages ซึ่งมีความทนต่อแรงกระแทกจะเริ่มเสื่อมลงโดยเฉพาะที่ข้อต่อที่รับน้ำหนัก เช่นข้อเข่าและสะโพก จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาวะการเกิดข้อเสื่อม ข้ออักเสบ (Osteoarthritis)
คอลลาเจนประเภทที่ 3 (type III)
มักพบร่วมกับประเภทที่ 1 คือพบในผิว กล้ามเนื้อ และผนังหลอดเลือด และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในร่างกาย สามารถพบร่วมกับคอลลาเจนชนิดที่ 1 แต่พบได้น้อยกว่าประมาณ 10 % โดยส่วนใหญ่มักพบในผนังหลอดเลือด แต่พบได้น้อยในข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากคอลลาเจนชนิดที่ 2
คอลลาเจนประเภทที่ 4 (type IV)
พบใน basal lamina และ basement membrane ในส่วนของ epithelium-secreted layer เป็นคอลลาเจนที่มีลักษณะเฉพาะตัว พบมากบริเวณเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกล้ามเนื้อและไขมันนอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยในเรื่องการทำงานของระบบประสาทและเส้นเลือดอีกด้วย
คอลลาเจนประเภทที่ 5 (type V)
เป็นคอลลาเจนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อบุเซลล์ต่าง ๆ พบในผิวของเซลล์ และเส้นผม